ETAT เปิดบ้าน ต้อนรับนักวิจัยจากทั่วโลกในโครงการ ETAT Workshop @KST2022

คณะวิทยาการสารสนเทศ 27 มกราคม 2565

โครงการ ETAT (http://etat-erasmus.com) ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป (EU) ได้เปิด ETAT Training Center ที่คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อต้อนรับนักวิจัยและนิสิตนักศึกษาจากทั่วโลกที่สนใจการใช้งาน Automation 4.0 ด้วยเทคโนโลยี PLCnext โดยมีเครือข่ายพันธมิตรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในโครงการ Erasmus+ CHBE ชื่อ Shyfte 4.0 (https://shyfte.eu) ที่มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ประสานงาน โดยมี Dr.Salinee Santiteerakul เข้าร่วมแบ่งปันข้อมูลความรู้และประสบการณ์ในฐานะโครงการที่ไปดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งใน ETAT Workshop นี้ มี FH-Prof. Christian Madritsch (Carinthia University of Applied Sciences (CUAS), Austria) และ Prof. Dr.-Ing. Reinhard Langmann (EduNet World Association e.V. (EWA), Germany) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนความรู้ และ ดร.ประจักษ์ จิตเงินมะดัน (คณะวิทยาการสารสนเทศ) เป็นผู้ดำเนินรายการและนำเสนอภาพรวมของโครงการ ETAT ให้ผู้เข้าร่วมงานรับทราบ และมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายคือ Dipl.-Ing. Saman Kampakaew (KMUTNB, Rayong), Mrs. Supaporn Bundasak (KU, Chon Buri), Mr. Pongpat Singsri (RMUTTO, Chon Buri), Dr. Narongsak Putpuek (RRU, Chachoengsao), และ Asst.Prof. Dr. Warangkhana Kimpan (KMITL, Bangkok) เข้าร่วมอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับ ETAT Training Center ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแต่ละที่

การจัด ETAT Workshop ในครั้งนี้ จัดขึ้นร่วมกับงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ KST 2022 (http://kst.buu.ac.th) ที่จัดโดยคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมอัตโนมัติ 4.0 (Automation 4.0) ออกไปสู่ชุมชนและเกิดการใช้งานที่แพร่หลายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC และประเทศไทยต่อไป