ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Software Engineering)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Software Engineering)
คำอธิบายสาขาวิขา
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering: SE) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิตซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่การเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์ เป็นต้น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
- เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่เปี่ยมด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและสามารถทำงานเป็นทีม ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตาม
- เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ และทักษะการใช้เครื่องมือ ตามแนวทางของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยวิถีโอเพนซอร์ส เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัล
- สามารถรวบรวม วิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนนำกลับมาใช้ใหม่ ต่อยอด แบ่งปัน และเรียนรู้ทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
- เป็นผู้นำระดับภูมิภาคตะวันออกด้านการประยุกต์แนววิถีโอเพนซอร์ส ในกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชนโอเพนซอร์ส
- มีทักษะในการสื่อสาร ด้วยวิธีการเขียน และปากเปล่า รวมถึงเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม
เล่มหลักสูตร
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 (ดาวน์โหลด)
- วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 (ดาวน์โหลด)
การเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ฉบับปี 2559 คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
รูปแบบการศึกษา
- เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- ภาษาที่ใช้จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
โครงสร้างหลักสูตร (138 หน่วยกิต)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต
- วิชาแกน 15 หน่วยกิต
- วิชาเอก 87 หน่วยกิต
- วิชาเอกบังคับ 66 หน่วยกิต
- วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือแผนการเรียนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งจะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ (เช่น ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา) ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
- จะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50 มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (การปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน)
- ค่าธรรมเนียมวันรายงานตัว 20,670 บาท
- ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรโดยประมาณ 181,270 บาท (ประมาณเทอมละ 22,660 บาท)*
ชื่อ | ห้องทำงาน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ผศ.นวลศรี เด่นวัฒนา | nuansri@buu.ac.th | IF-910D | (ประธานหลักสูตรฯ) |
อาจารย์ประวิทย์ บุญมี | prawit@buu.ac.th | IF-912C | (ย้ายเข้าหลักสูตรเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 62) |
อาจารย์อธิตา อ่อนเอื้อน | athitha@go.buu.ac.th | IF-910F | (ลาศึกษาต่อ) |
อาจารย์พีระศักดิ์ เพียรประสิทธิ์ | peerasak@buu.ac.th | IF-910B | |
ดร.ณัฐพร ภักดี | nuutaporn@buu.ac.th | IF-910E | |
อาจารย์วันทนา ศรีสมบูรณ์ | wantanasi@buu.ac.th | IF-910C | |
อาจารย์อภิสิทธิ์ แสงใส | apisit.sa@go.buu.ac.th | IF-910A | อาจารย์ผู้สอน |
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์(Software Engineer) หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer/Developer)
- วิศวกรความต้องการ (Requirement Engineer)
- นักประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)
- วิศวกรปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement Engineer)
- นักทดสอบระบบ (Software Tester)
- นักบูรณาการระบบ (System Integrator)
- นักวิเคราะห์ระบบหรือนักออกแบบระบบ (System Analyst / Designer)
- ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์ (Software Project Manager)
- และอาชีพอื่น ๆ ในสายงานเทคโนโลยีดิจิทัล
ผลงาน/รางวัล
- รางวัลการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (ORAL) จำนวน 20 ผลงาน แบบ Poster 3 ผลงาน ในการประชุมวิชาการ The 7th ASEAN Undergraduate Conference In Computing (AUC2) 2019 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้รับทุนในโครงการ Sakura Science Program จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 คน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัล Cloud Credit ในการแข่งขัน Chiangmai HackaTrain 2019 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
- รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศจากค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการ Thailand Networking Group ครั้งที่ 8
- นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์จำนวน 106 คน ได้รับประกาศนียบัตรระดับสากล หลักสูตร compTIA A+
เครือข่ายความร่วมมือ
- บริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด (ClickNext)
- บริษัท พายซอฟท์ จำกัด (PieSoft)
- บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (MFEC)
- ซีดีจี และกลุ่มเครือบริษัทจีเอเบิล
- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
- INET - Internet Thailand Public Co., Ltd
- Advanced Info Service Public Company Limited
- บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกั (KTBG)
- บริษัท ซี.เอส.ไอ. (ประเทศไทย) จำกัด
- เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออก (Eastern Software Park)
- ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมระบบสารสนเทศ (ISERL)
- บริษัท ล็อกซเล่ย์ ออบิท จำกัด (มหาชน)
- บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด
- บริษัท เว็ลธ์ แมเนจเม้นท์ ซิสเท็ม จำกัด
- บริษัท ไอโคเน็กซ์ จำกัด
- บริษัท PRISM จำกัด
- บริษัท ซอฟต์สแควร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท แบ็กซ์เตอร์ เมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด
- บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
- บริษัท ซีล เทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- บริษัท ไทรอัมพ์ เอวิเอชั่น เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด
- บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด
- บริษัท ไทยโพลีคาร์บอเนต จำกัด
- บริษัท เคหกสี่ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
- บริษัท เอนี่ไอ จำกัด
- etc.
ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมระบบสารสนเทศ (ISERL)
ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 สังกัดภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปีพ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ยกฐานะภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขึ้นเป็นคณะวิทยาการสารสนเทศ ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมระบบสารสนเทศจึงอยู่ภายใต้สังกัดคณะวิทยาการสารสนเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้เป็นซอฟต์แวร์ต้นแบบกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงการเป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า บริการวิชาการ และให้คำปรึกษาในเรื่องวิศวกรรมระบบสารสนเทศ ติดตามและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่ทันสมัยมาใช้เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ และสามารถนำมาใช้ในองค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนได้จริง
จุดแข็งของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เกิดจากความร่วมมือจากห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมระบบสารสนเทศ (ISERL) ในการนำโจทย์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของห้องปฏิบัติการวิจัย มาให้นิสิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ได้เรียนรู้ ในรูปแบบ Project Based Learning และมีเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการวิจัยฯ ซึ่งเป็นนักพัฒนาระบบที่มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 1 ถึง 10 ปี ทำหน้าที่เป็นโค้ช ภายใต้กรอบการทำงานในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบสกรัม