คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 5 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา โดยปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 5 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 7 หน่วยกิต
3. ผู้สมัครจะต้องมีคะแนน ดังต่อไปนี้
- คะแนนวิชา TGAT
- คะแนนวิชา TPAT3
4.มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา โดยปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (ไม่รับวุฒิ ปวช.) มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX 6 ภาคเรียน) ไม่ต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ ดังนี้
1. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต
2. ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
3. ผู้สมัครจะต้องมีคะแนน ดังต่อไปนี้
- คะแนนวิชา TGAT
- คะแนนวิชา TPAT3
4. มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กระตือรือร้น ใฝ่หาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีตรรกะในการวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา โดยปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ)
ชื่อย่อภาษาไทย: วท.บ. (ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Applied Artificial Intelligence and Smart Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Applied Artificial Intelligence and Smart Technology)
ปรัชญา
หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบัณฑิตนักปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ มีทักษะด้านภาษาและมีความพร้อมปฏิบัติงาน มีคุณธรรม เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนรูปหน่วยงานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ มุ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของยุทธศาสตร์ประเทศ
คำอธิบายสาขาวิชา
ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Applied Artificial Intelligence and Smart Technology: AAI) ได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเปลี่ยนรูปองค์การไปสู่องค์กรอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven Business) บนพื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตลอดถึงการพัฒนากำลังคนในธุรกิจดิจิทัล และระบบอัจฉริยะ เช่น โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory),เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture), ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming), เมืองอัจฉริยะ (Smart City),การบริการอัจฉริยะ (Smart Services), การท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourisms) และ โลจิสติกส์อัจฉริยะ (Smart Logistrics) สอดคล้องกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0
วัตถุประสงค์
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (หลักสูตรสองภาษา) นี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะตามผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ดังนี้
- เป็นพลเมืองตื่นรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง มีจิตสาธารณะ ร่วมแก้ปัญหาสังคม มีความซื่อสัตย์สุจริตและจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบขององค์กรและสังคม มีวินัย และตรงต่อเวลา
- มีองค์ความรู้พื้นฐานและความรู้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม พร้อมรองรับการขับเคลื่อนองค์กรด้วยระบบดิจิทัล (Digital Transformation)
- มีทักษะในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบ และประยุกต์ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบโดยใช้ศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ สามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตและติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งสามารถสร้างนวัตกรรม การบริการหรือพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์หรือสิ่งประดิษฐ์เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรม
- มีทักษะด้านอารมณ์ในการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข และ เลือกใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์หรือทางปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูล และ สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ สามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลสมัยใหม่ และ มีทักษะเป็นผู้ประกอบการด้านระบบอัตโนมัติ
เล่มหลักสูตร
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567
- แผนการเรียนสาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักสูตรปรับปรุง พ .ศ. 2567 (ฉบับย่อ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ (หลักสูตรสองภาษา) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
- โครงสร้างของหลักสูตร (ฉบับย่อ) พ.ศ. 2564
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563 (ฉบับย่อ)
- โครงสร้างของหลักสูตรใหม่ (ฉบับย่อ) พ.ศ. 2563
รูปแบบการศึกษา
- เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
โครงสร้างหลักสูตร
- มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ประกอบด้วย 3 หมวด
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 18 หน่วยกิต
2.2) วิชาเอก 66 หน่วยกิต
2.2.1) วิชาเอกบังคับ 57 หน่วยกิต
2.2.2) วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
นิสิตที่เข้าเรียน ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท รวมตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
นิสิตที่เข้าเรียน ก่อนปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไป ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท ยกเว้น ภาคการศึกษาฤดูร้อน 12,500 บาท รวมตลอดหลักสูตร 237,500 บาท
ชื่อ | ห้องทำงาน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|
ดร.พลวัต ช่อผูก | ponlawat.ch@buu.ac.th, ponlawat.ch@go.buu.ac.th | IF-913F | (ประธานหลักสูตรฯ) |
ผศ.ดร. สุภาวดี ศรีคำดี | srikamdee@buu.ac.th | IF-911C | |
อาจารย์ประวิทย์ บุญมี | prawit@buu.ac.th | IF-912C | |
รศ.ดร. กฤษณะ ชินสาร | krisana@informatics.buu.ac.th | IF-913B/ห้องคณบดี ชั้น 2 IF-215 | |
ดร.วัชรพงศ์ อยู่ขวัญ | wyookwan@informatics.buu.ac.th | IF-909E / KST Lab IF-8R04 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ
มุ่งเน้นวางรากฐานองค์ความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบฝึกปฏิบัติจริง (Project-Based Learning) และบูรณาการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งสร้างนวัตกรรมระบบอัตโนมัติให้สอดคล้องกับความต้องการของยุทธศาสตร์ประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างมีจริยธรรม และ สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรฯ จะสามารถสกัดข้อมูลเชิงลึก (insight) จากข้อมูลขนาดใหญ่ที่มาจากหลายแหล่ง ด้วยเทคนิคทางด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาท่อส่งข้อมูล (data pipeline) และระบบประมวลผลข้อมูล (data processing system) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลและการออกรายงาน สามารถสร้างระบบอัตโนมัติ (automation systems) ที่สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย (diagnostic analytics) การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (predictive analytics) หรือ การวิเคราะห์เชิงแนะนำ (prescriptive analytics) สำหรับปัญหาในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมดิจิทัล หรือ อุตสาหกรรมสุขภาพ
ตัวอย่างแนวทางการประกอบอาชีพ
- นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
- วิศวกรวิเคราะห์ (Analytics Engineer) [data pipeline, ETL, data lake, data warehouse]
- วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineer) [IoT, NLP, BI, Computer Vision]
- นักวิจัย (Researcher) ที่ออกแบบและพัฒนาระบบที่มีปัญญาประดิษฐ์เป็นฐาน
- ผู้ประกอบการอิสระ (Startup) ด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
- ผลงาน/รางวัล
ความร่วมมือกับสถานศึกษาและสถานประกอบการ
- บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนาบุคลากรและการศึกษารองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ลงนาม ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมเทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562
- บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนากำลังคนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ลงนาม ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
- บันทึกความเข้าใจ เรื่อง การพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ เทคโนโลยีอัจฉริยะ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ และระบบอัตโนมัติ เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ลงนามโดย สถาบันการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและพื้นที่ใกล้เคียง 17 สถาบัน ได้แก่
1) มหาวิทยาลัยบูรพา
2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ตะวันออก
3) วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี
4) วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
5) วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา
6) วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว
7) วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี
8) วิทยาลัยเทคนิคตราด
9) วิทยาลัยเทคนิคระยอง
10) วิทยาลัยเทคนิคพัทยา
11) วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
12) วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก
13) วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
14) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี 15) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
16) สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย
17) บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ลงนาม ณ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562